โครงสร้างสำนักงานตรวจสอบภายใน


 สำนักงานตรวจสอบภายในแบ่งส่วนงานภายในตามโครงสร้าง  3 งาน ดังนี้

 

1. งานบริหารและธุรการ

ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน

  • หน่วยธุรการและการเจ้าหน้าที่

            หน้าที่และความรับผิดชอบในการลงทะเบียนรับ – ส่งหนังสือ เสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น  จัดเก็บเอกสาร  จัดพิมพ์หนังสือราชการ  พิมพ์เอกสาร ถ่ายสำเนาเอกสาร จัดทำเอกสาร  ผลิตเอกสาร            ทำทะเบียนประวัติบุคลากรของสำนักงานตรวจสอบภายใน การจัดส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนา ประชุมเพื่อพัฒนาตนเอง  การจัดส่งแบบประเมินเพื่อเลื่อนระดับ เลื่อนขั้นเงินเดือน และงานอื่นๆที่  เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล

 

  • หน่วยการเงิน งบประมาณและพัสดุ

             หน้าที่และความรับผิดชอบในการเบิก – จ่ายงบประมาณของหน่วยงานในระบบ 3 มิติ ทำบัญชีควบคุม      การใช้จ่ายเงิน จัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ครุภัณฑ์  และควบคุมทะเบียนพัสดุ  ครุภัณฑ์ในระบบ 3 มิติ  และการจัดทำรายงานทางการเงินและบัญชี ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่กำหนด

 

  • หน่วยวิเคราะห์นโยบายและแผน

             หน้าที่และความรับผิดชอบในการวิเคราะห์แผนการใช้จ่ายงบประมาณ  โดยการจัดทำแผนงานระยะยาว  และแผนงานประจำปีเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงรายงานแผนและผลการใช้จ่าย    งบประมาณให้มหาวิทยาลัยทราบตามไตรมาส และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

  • หน่วยประกันคุณภาพ
              หน้าที่และความรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของสำนักงานตรวจสอบภายในสำหรับจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง เสนอมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก ตามกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา และการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการของกรมบัญชีกลาง  กระทรวงการคลังทยาลัยรามคำแหง ตามกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำรายงานการประเมินตนเองเสนอกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง  ตามแนวทางการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

 

2. งานตรวจสอบภายใน

ประกอบด้วย  3  หน่วยงาน

  • หน่วยตรวจสอบภายในส่วนกลาง
              หน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบและประเมินผลความถูกต้อง เชื่อถือได้ของตัวเลข และข้อมูลต่างๆ ด้านการเงิน บัญชี การพัสดุ การงบประมาณ และรายงานทางการเงินของคณะ สำนัก สถาบัน ศูนย์ กอง หน่วยงานอื่น และประเมินผลเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเชื่อถือได้ของระบบงาน            และข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบการเข้าถึงข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข  และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ประกอบด้วย สำนัก สถาบัน ศูนย์ และกองเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการเกี่ยวกับการวางแผน การควบคุมการประเมินผลให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

  • หน่วยตรวจสอบภายในส่วนภูมิภาค
               หน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบ และประเมินผลความถูกต้องเชื่อถือได้ของตัวเลขและข้อมูลต่างๆ ด้านการเงิน บัญชี รายงานทางการเงิน การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ  คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการเกี่ยวกับการวางแผนการควบคุมการประเมินผลตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และประเมินผลเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบการเข้าถึงข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข                และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค

 

  • หน่วยตรวจสอบโครงการ
               หน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบ และประเมินผลประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของโครงการต่างๆ ของส่วนราชการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหรือมาตรฐานงานที่กำหนดโดยมีผลผลิต    และผลลัพธ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ซึ่งวัดจากตัวชี้วัดที่เหมาะสม

 

3. งานติดตามและประเมินผล

 ประกอบด้วย  3  หน่วยงาน         

  • หน่วยติดตามประเมินผล
              มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามผลการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าข้อเสนอแนะ ข้อตรวจพบจากการตรวจสอบ และการสอบทานอื่นๆ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม ทันเวลา และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หรือผู้บริหารของหน่วยรับตรวจยอมรับความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตาม

 

  • หน่วยประเมินผลระบบการควบคุมภายใน
              หน้าที่และความรับผิดชอบในการประเมินผลการบริหารความเสี่ยง  ความพอเพียงของการจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค เพื่อเสนอแนะมาตรการ การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมและเหมาะสม

 

  • หน่วยบริการให้คำปรึกษา คำแนะนำ
              หน้าที่และความรับผิดชอบในการให้คำปรึกษาแนะนำหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ และผู้รับตรวจในเรื่องต่างๆ ในอันที่จะช่วยพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเสนอแนะเพื่อป้องปรามมิให้เกิดความเสียหายกับการเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ของทางราชการ